ประวัติของประเทศอิรัก ดินแดนแห่งสงคราม
‘ประเทศอิรัก’ ได้รับฉายาว่าเป็นแหล่งอารยธรรมแห่งโลก ซึ่งมีประวัติความเป็นมาอันน่าสนใจ อีกทั้งยังมีวัฒนธรรมความเป็นอยู่วิถีชีวิตของประชาชนที่หลากหลาย โดยประเทศอิรักเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในตะวันออกกลาง มีกรุงแบกแดดเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่ ณ ใจกลางประเทศ จำนวน 97% ของประชากรในอิรักพบว่าจำนวน 36 ล้านคนนับถือศาสนาอิสลาม มาทำความรู้จักกับแม่น้ำ Tigris และ Euphrates โดยประเทศอิรักมีภูมิภาคตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ Tigris และ Euphrates ซึ่งเป็นแม่น้ำหลักของประเทศ ได้หลายผ่านใจกลางประเทศ ทำให้ประเทศอิรักมีความอุดมสมบูรณ์ในช่วงที่แม่น้ำไหลผ่าน ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำ 2 สายนี้ถูกเรียกว่าMesopotamia ซึ่งนักโบราณคดีมีการวิเคราะห์พร้อมคาดการณ์ว่า ตรงจุดนี้น่าจะเป็นบ่อเกิดของอารยธรรมอันเก่าแก่ที่สุดในโลก อิรัก ณ ปัจจุบันนี้ในอดีตเคยปรากฏอยู่ในแผนที่ของชาวกรีก ซึ่งในสมัยนั้นเรียกกันว่า Mesopotamia และตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ 2 สายที่มีความสำคัญที่สุดในภูมิภาคแห่งนี้ ได้แก่… แม่น้ำ Tigris – มีความยาว 2,700 กิโลเมตรจุดเริ่มต้นของการไหลเริ่มจากทิศเหนือ ไปยังทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยชาวสุเมเรียนตั้งชื่อแม่น้ำแห่งนี้ว่า ‘idigna’ แปลว่าไหลเร็วดุจลูกธนู ตามลักษณะของความรุนแรงและเชี่ยวกราดของแม่น้ำแห่งนี้ แม่น้ำ Euphrates – มีความยาว 1,900 กิโลเมตร ซึ่งความเร็วของแม่น้ำแห่งนี้ ไหลช้ากว่า แม่น้ำ Tigris เมื่อแม่น้ำสายนี้ไหลไปที่ใด ก็สร้างความอุดมสมบูรณ์และความสุขให้แก่ประชาชนตลอดเส้นทาง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ที่ราวกับโอเอซิส ซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางความแห้งแล้งของทิศเหนือ, ทิศตะวันตกและทิศใต้ โดยการกำเนิดเมืองอันรุ่งเรืองในอดีต รวมทั้งวัฒนธรรมที่เรียกได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของโลก ไม่ได้มาจากแม่น้ำทั้ง 2 สายนี้เท่านั้น แต่ยังเกิดจากการที่มนุษย์ได้เล็งเห็นความเจริญในอนาคต จึงมีการพัฒนาสร้าง เหมือง, ฝาย, ทำนบ เพื่อป้องกันการทำลายอันรุนแรงของกระแสน้ำ พร้อมทั้งยังกักเก็บน้ำเพื่อเอาไว้ใช้ในฤดูเพาะปลูกทำเกษตรกรรมต่างๆ เพราะฉะนั้นจึงถือได้ว่าการทำเกษตรกรรมในภูมิภาคนี้ จัดเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยสถานที่จริงอยู่บริเวณเมืองทางตอนใต้ของอิรักย้อนไป 4,300 – 3,000 ปีก่อนคริสตกาล พื้นที่ทำเกษตรกรรมโบราณอันดับแรกของโลก โดยพืชที่มีความสำคัญคือ ข้าวสาลีกับข้าวบาร์เลย์ นอกจากนี้ยังมีหญ้าที่มีความพิเศษที่เรียกว่า Einkorn…
Read More